ปฏิญญาเซี่ยงไฮ้ถือกำเนิดขึ้น ความร่วมมือการศึกษาไทย - จีนทะยานขึ้นอย่างก้าวกระโดด
Tang : 2019-12-16

ในหลายปีมานี้ประเทศจีนและประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านภูมิภาคความร่วมมือการศึกษานานาชาติ เมื่อเร็วๆนี้มีประกาศแผนการระดับสูงของ《การแถลงข่าวการร่วมมือระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย》โดยนโยบายนั้นได้มีทิศทางไปในทางพัฒนาการแลกเปลี่ยนการศึกษาระหว่างประเทศไทย - จีน แผนการบ่มเพาะบุคลากรที่มีทักษะจำนวน 475,000 คน ใน 5 ปีของเขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ EEC ของประเทศไทยได้เสนอความต้องการอย่างมากในด้านบุคลากรอาชีวที่มีทักษะ เพื่อเป็นการผลักดันความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย - จีน ผลิตบุคลากรที่มีทักษะชาวไทย กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ บริษัท Tang Chinese International Education Group ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของวงการการศึกษาของทั้งสองประเทศในการสร้างรูปแบบใหม่ของความร่วมมือระหว่างประเทศแบบทันสมัย CCTE ซึ่งจากความพยายามของหลายๆฝ่ายใน 18 เดือนที่ผ่านมา วิทยาลัยของทั้งสองประเทศได้ร่วมกันจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติไทย - จีน “อินเทอร์เน็ต +” ในรูปแบบ CCTE กว่า 27 แห่ง และได้เริ่มบ่มเพาะแลกเปลี่ยนนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม


เพื่อสรุปผลของการพัฒนาของประเทศจีนและประเทศไทยในรูปแบบ CCTE และเพื่อเป็นการดำเนินการตามคำแนะนำในการร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศไทย - จีนของผู้บริหารทั้งสองประเทศ วันที่ 12-13 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ภายใต้การชี้แนะของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย มูลนิธิหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางแห่งประเทศไทย สมาคมแลกเปลี่ยนการศึกษาระหว่างประเทศของจีน โดยบริษัท Tang Chinese International Education Group เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับวิทยาลัย Shanghai Technical Institute of Electronics Information จัดงาน “การประชุมฟอรั่มการพัฒนาความร่วมมือทางอาชีวศึกษาระหว่างไทย - จีนปี พ.ศ. 2562”ขึ้นที่เซี่ยงไฮ้




สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ผู้บริหารคณะกรรมการการอาชีวศึกแห่งประเทศไทยและผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาของประเทศไทยกว่า 20 แห่งเดินทางมาถึงเซี่ยงไฮ้ ได้ทำการพูดคุยแลกเปลี่ยนเชิงลึกกับผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาประเทศจีนกว่า 40 แห่ง ได้รับผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม




ประธานมูลนิธิหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางแห่งประเทศไทย สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนีรู้สึกพอใจกับความคืบหน้าของการทำความร่วมมือไทยจีนรูปแบบ CCTE ช่วงแรก ให้ความเชื่อมั่นในความพยายามอย่างต่อเนื่องหลายปีมานี้ของถังฟง ในขั้นต่อไปจะให้การสนับสนุนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ให้กำลังใจทุกคนในการขยันและพยายามต่อไป




รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย คุณปัทมากล่าวว่า : ผลสำเร็จในด้านความร่วมมือของวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาประเทศจีนนั้นมีความเป็นรูปธรรม การนำร่องนี้ถือว่ามีความสำเร็จเป็นอย่างมาก ; ขณะเดียวกันก็ขอเป็นตัวแทนเลขาธิการของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยของประเทศไทยในการแสดงความชื่นชมในการทำงานของถังฟง ต่อจากนี้คณะกรรมการการอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทยจะวางแผนอย่างรอบด้าน โดยจะอิงจากแต่ละกลุ่มสาขา กับการดำเนินงานเชิงลึกยิ่งขึ้นในด้านความร่วมมือไทยจีนอย่างทันสมัยทั่วประเทศไทย


ฝ่ายต่างๆได้เข้าร่วมประชุม พูดคุยอภิปรายเชิงลึกในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกันด้านความร่วมมือการศึกษานานาชาติไทย - จีน ท้ายที่สุดได้เห็นพ้องต้องกันในการออก《ปฏิญญาเซี่ยงไฮ้ว่าด้วยความร่วมมือและการพัฒนาอาชีวศึกษาระหว่างไทย - จีน》มาเป็นแนวความคิดในการพัฒนา ดำเนินการตามข้อกำหนดของคำแถลงของนายกรัฐมนตรีของประเทศจีนและประเทศไทยในด้านการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา ใช้แนวคิดเชิงปฏิรูปด้านอุปทานของการศึกษาระหว่างประเทศ นำความต้องการบุคลากรในตลาดเขต EEC ของประเทศไทยเป็นจุดเริ่ม ผสานเจ้าหน้าที่ของรัฐประเทศไทยและประเทศจีน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา วิทยาลัยแต่ละประเภท แต่ละระดับและหน่วยงานสังคม ที่จะสร้างระบบการบ่มเพาะบุคลากรแบบ “แตกฉานภาษา มีทักษะ ประยุกต์ใช้ได้” สร้าง“มาตรฐานประเทศไทย” ในรูปแบบ CCTE เพื่อผลิตบุคลากรอย่างต่อเนื่องให้แก่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศจีน ให้บริการการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ชาวไทยและการสร้าง “One Belt One Road”


《ปฏิญญาเซี่ยงไฮ้》บอกไว้ว่า : นับจากนี้จะดำเนินความร่วมมือกับวิทยาลัยจีน - ไทยในการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาระหว่างประเทศไทย - จีน กำหนดมาตรฐาน สร้างกลุ่มสาขาวิชาเฉพาะทาง ขยายความร่วมมือด้านการศึกษา สร้างแพลตฟอร์มและแหล่งข้อมูล จัดการแข่งขันทักษะ สร้างศูนย์สาธิตฝึกอบรมในประเทศไทย ร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการและการเข้าประสานระหว่างภาคการผลิตกับการเรียนการสอน จัดประชุมทางวิชาการและการประชุมประจำปี เป็นต้น


ในระหว่างการประชุม คณะกรรมการการอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย มูลนิธิหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางแห่งประเทศไทยได้แสดงความขอบคุณอย่างจริงใจกับหน่วยงาน วิทยาลัยและแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมกับโครงการความร่วมมือไทย – จีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และดำเนินการมอบรางวัลให้แก่หน่วยงานและบุคคลที่สร้างคุณูปการในด้านโครงการความร่วมมือไทย - จีน




อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย คุณ กวนมู่ อดีตผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งประเทศ คุณ Jia Yimin รองคณบดีกระทรวงศึกษาธิการของมณฑลเหอเป่ย คุณ Jia Haiming ท่านประธานบริษัท Tang Chinese International Education Group คุณ Li Jinsong ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นด้านการแลกเปลี่ยนการศึกษาไทยจีน




เลขาธิการวิทยาลัย Hebei Software Vocational and Technical College คุณ Tian Mingxin เลขาธิการวิทยาลัย Jinan Engineering Vocational Technical College คุณ Zhang Huiqing ได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมส่วนบุคคลในด้านความร่วมมืออาชีวศึกษาไทยจีนปี พ.ศ 2562




วิทยาลัยอาชีวศึกษา 12 แห่งเช่น วิทยาลัย Shanghai Technical Institute of Electronics & Information วิทยาลัย Hebei Software Vocational and Technical College วิทยาลัย Jinan Engineering Vocational Technical College ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นด้านความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย - จีนปี พ.ศ. 2562 โครงการความร่วมมือได้รับการจัดให้เป็นโครงการแบบอย่างในด้านความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย - จีน

วิทยาลัยอาชีวศึกษา 10 แห่งเช่น วิทยาลัย Jiujiang Vocational and Technical College วิทยาลัย Liaoning Petrocchemical Vocational and Technology วิทยาลัย Anhui Vocational and Technical College ได้รับรางวัลผลงานความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย - จีนปี พ.ศ. 2562



การประชุมฟอรั่มครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากวิทยาลัย Shanghai Technical Institute of Electronics & Information ในงาน อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย คุณกวนมู่ อดีตผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ศาสตราจารย์ Jia Yimin ได้กล่าวรายงานถึงจุดประสงค์ วิทยาลัย Shanghai Technical Institute of Electronics & Information สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก วิทยาลัย Jinan Engineering Vocational Technical College วิทยาลัย Fujian Polytechnic of Information Technology วิทยาลัย Leshan Vocational and Technical College วิทยาลัย Hebei College of Industry and Technology วิทยาลัย Xi’an Railway Vocational & Technical Institute ต่างได้ร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์อันล้ำค่าของความร่วมมือไทย - จีน

ในวันนี้ที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองมั่นคง การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจแน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ การศึกษาของประเทศจีนและประเทศไทย โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความร่วมมือของอาชีวศึกษานั้นได้มาถึงช่วงจังหวะที่ดีที่สุดแล้ว ภายใต้การชี้นำของ《ปฏิญญาเซี่ยงไฮ้》ฝ่ายประเทศจีนและประเทศไทยจะรวมพลังกันในระดับต่างๆจากรัฐบาล วิทยาลัย สถานประกอบการ จับมือแล้วก้าวไปด้วยกัน เพื่อเป็นส่วนช่วยในด้านความร่วมมือบ่มเพาะบุคลากรที่มีทักษะของทั้งสองประเทศ ผลลัพธ์ของความร่วมมือนานาชาติอาชีวศึกษาไทย - จีน ได้กลายเป็นแบบอย่างของความร่วมมือด้านการศึกษา“One Belt One Road”บุกเบิกเปิดหน้าใหม่ของมิตรภาพไทย - จีน