เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Hebei Software Vocational and Technical College อินเตอร์เน็ต+ เป็นวิทยาลัยนานาชาติไทย-จีน ภายใต้การชี้นำของพระพรหมมังคลาจารย์ ประธานมูลนิธิร่มฉัตรประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ห้องเรียนขงจื่อโรงเรียนวัดไตรมิตรวิทยาลัยได้ทำพิธีเปิดป้าย ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีป้าย“สถาบันชงจื๊อ” ครั้งนี้พระพรหมมังคลาจารย์ กล่าวสรุปว่า ต้องมีการสนับสนุนวิทยาลัยอาชีวศึกษาจีน - ไทยให้มากขึ้นเพื่อผลักดันให้สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครเป็นแบบนำร่อง
เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ดร.ชมพูนุช บัวบังศร ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครและคณะผู้บริหารจากวิทยาลัยในสังกัดเดินทางเยือนประเทศจีนมณฑลฝูเจี้ยน มณฑลซานซี มณฑลชานตง มณฑลเหอเป่ย์ กรุงปักกิ่ง เมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น ขณะเดียวกันมณฑลหูหนาน เมืองเซี่ยงไฮ้ 2 แห่ง 3 วิทยาลัย นักเรียนได้เข้าร่วมฝึกอบรมระยะสั้นสำเร็จไปได้ด้วยดี เป็นขั้นแรกของความสำเร็จในความร่วมมือการอาชีวศึกษาจีน - ไทย
วันที่ 12 ตุลาคม 2561 ณ Fujian Polytechnic of Information Technology ได้ทำพิธีเปิดป้าย วิทยาลัยนานาชาติไทย-จีน และเป็นครั้งแรกที่นักเรียนจำนวน 19 คนจากวิทยาลัยพาณิชยการอินทราชัยและวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายเดินทางถึงเมืองฝูโจวเพื่อเรียนในหลักสูตรของนักเรียนต่างชาติ
พิธีเปิดป้าย วิทยาลัยนานาชาติไทย-จีน
วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา Xi'an Railway Vocational & Technical Instituteและวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองมีการลงนามความร่วมมือด้านอินเตอร์เน็ต+และได้ทำพิธีเปิดป้าย สาขาการคมนาคมระบบรางไทย-จีน
วันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซานตงและกาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวงและวิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองร่วมกันจัดพิธีเปิดป้ายสถาบันเหลียวอีขงจื๊อในประเทศไทยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซานตง
พิธีเปิดป้ายสถาบันเหลียวอีขงจื๊อในประเทศไทยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซานตง
วันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา Hebei Software Vocational and Technical College ทำพิธีเปิดป้าย “สถาบันชงจื๊อ”
พิธีเปิดป้าย “สถาบันชงจื๊อ”
คุณหลี่ จิน ซงประธานกรรมการบริหารบริษัทถัง อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัดกล่าวว่า วิทยาลัยการอาชีวศึกษาชั้นนำในประเทศจีนและสถาบันการอาชีวศึกษาในประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนจากสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครกับบริษัทถัง อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด วิทยาลัยนานาชาติไทย-จีนและอินเตอร์เน็ต+และการเรียนแบบต่อหน้ารวมกันเป็นการทำความร่วมมือในรูปแบบการเรียนไทยจีนได้อย่างลงตัว เปิดโอกาสให้นักศึกษาของไทยในการเรียนความรู้สาขาวิชาชีพที่โดดเด่นของประเทศจีน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษามีอนาคตที่ดีและอาชีพที่ดีต่อไป โดยมีข้อเด่น 4 ข้อ 1. จุดเริ่มต้นสูง การศึกษาในต่างประเทศในประเทศจีนและมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ทำไปพร้อมกัน มหาวิทยาลัยก็สามารถรับนักศึกษาต่างชาติได้โดยตรง 2. รูปแบบใหม่ อินเตอร์เน็ต+สามารถที่จะลดปัญหาการขาดแคลนครูและลดปัญหาต้นทุนสูงเกิอการเรียนรู้แบบออนไลน์ในประเทศและต่างประเทศผ่านการสนับสนุนของระบบคลาวน์แพลตฟอร์ม 3. วิทยาลัยการอาชีวศึกษาจีนสามารถแบ่งปันการเรียนภาษาและทรัพยากรการศึกษาที่ดีเยี่ยมและเป็นหลักสูตรที่มีความโดดเด่นยอดเยี่ยม 4. โอกาสที่ดี เมื่อนักศึกษาของไทยได้เรียนในหลักสูตรนั้นๆแล้ว จะมีโอกาสที่ดีในการเข้าทำงานในบริษัทของจีนที่เข้าไปลงทุนในไทย นักศึกษาสามารถมีอนาคตที่ดีและอาชีพที่ดีต่อไปในอนาคต
วันที่ 15และวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา Chang'an UniversityและShanghai Technical Institute of Electronics & Information มีการจัดการสัมมนาการศึกษานานาชาติจีน-ไทย หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยจัดที่ซีอานและเมืองเซี่ยงไฮ้ โอกาสนี้ได้เชิญวิทยาลัยที่ร่วมมือและวิทยาลัยจีนไทยเพื่อเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในงานนี้อีกด้วย ครั้งนี้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยจับคู่พี่น้องระหว่างวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันกรุงเทพกับBEIJING POLYTECHNIC และFuzhou Vocational and Technical CollegeและShaanxi College of Communication TechnologyและShanghai Technical Institute of Electronics & Information
Chang'an UniversityและShanghai Technical Institute of Electronics & Information จัดการสัมมนาการศึกษานานาชาติจีน-ไทย หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างBEIJING POLYTECHNIC Fuzhou Vocational and Technical Collegeกับสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครและบริษัท ถัง อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด
บริษัท ถัง อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัดได้ผลักดัน วิทยาลัยนานาชาติไทย-จีนและอินเตอร์เน็ต+ โดยมี Hunan Communication Engineering PolytechnicและHunan Chemical Vocational Technology Collegeจัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น อีกทั้งShanghai Technical Institute of Electronics & Informationยังได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่อง หุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้กับคณะอาจารย์และนักเรียน ทั้งหมด 2 สัปดาห์โดยแบ่งเป็น การเรียนการสอนเรื่อง หุ่นยนต์อุตสาหกรรม การเรียนภาษาจีน การเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กิจกรรมกีฬาและสันทนาการต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างไทย - จีน คณะอาจารย์ได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งคณะอาจารย์และนักเรียนมีความประทับใจเป็นอย่างมาก หวังอย่างยิ่งที่จะได้มาเยือนประเทศจีนในครั้งต่อไป
คณะนักเรียนหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ณ Hunan Communication Engineering Polytechnic Hunan Chemical Vocational Technology CollegeและShanghai Technical Institute of Electronics & Information
โครงการทั้งหมดนี้มาจากการสนับสนุนจากวิทยาลัยการอาชีวศึกษาประเทศจีน โอกาสนี้คุณกู่ ไห่ หมิง รองผู้อำนวยการแผนกการศึกษามณฑลเหอเป่ยซึ่งได้เข้าร่วมพิธีเปิดป้าย สถาบันจู่ชงจือ ได้กล่าวว่า แผนกการศึกษามณฑลเหอเป่ยได้ให้ความสำคัญกับการทำความร่วมมือกับการอาชีวศึกษาไทยเป็นอย่างมาก เริ่มจากสถาบันจู่ชงจือเป็นก้าวแรกที่ดีต่อไปในอนาคต หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันจู่ชงจือจะเป็นประตูนำไปสู่ผู้ที่เข้ามาศึกษาในต่างประเทศได้อย่างดี ซึ่งทางสถาบันจู่ชงจือจะนำสาขาที่มีความโดดเด่นเข้ามาไว้ในสถาบันจู่ชงจือเพื่อให้เป็นวิทยาลัยการอาชีวศึกษายอดเยี่ยมโดยจะต้องพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบวิทยาลัยการอาชีวศึกษานานาชาติในมณฑลเหอเป่ยอีกด้วย
ในครั้งนี้คุณเจียง ยวี่ ผู้อำนวยการแลกเปลี่ยนและทำความร่วมมือระหว่างประเทศแผนกการศึกษามณฑลซานตงและคุณเฉิน รุ่ย จิงผู้อำนวยการสถาบันอาชีวศึกษามณฑลฝูเจี้ยนและคุณหลิน ไห่ เฟิง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือต่างประเทศแผนกการศึกษามณฑลฝูเจี้ยนซึ่งแบ่งเป็น สถาบันเหลียวอีขงจื๊อวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซานตงและวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษานานาชาติไทยจีนFujian Polytechnic of Information Technology
วันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ทางสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครกับบริษัทถัง อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัดได้เข้ารายงานความคืบหน้าให้กับพระพรหมมังคลาจารย์ ด้านความร่วมมือการอาชีวศึกษาจีน – ไทยมีผลการดำเนินงานเป็นไปอย่างคาดไว้ ซึ่งจะมีการดำเนินการทำความร่วมมือต่อไปให้มากยิ่งขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งจะพัฒนาระบบและสร้างหลักสูตรที่เน้นการเชื่อมโยงสำหรับการศึกษาและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทย – จีนให้มากกว่าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมสืบต่อไป