ถังฟงได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ “ภาษาจีน + ทักษะวิชาชีพ” ประเทศไทยครั้งที่ 1
Tang : 2019-09-25

วันที่ 15 กันยายน พ.ศ .2562 การแข่งขันอาชีวศึกษาเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทุนการศึกษาสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา โดยมีนักเรียน 1,168 คนจากวิทยาลัยอาชีวศึกษากว่า 49 แห่งทั่วประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ โดยท่านเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ฯพณฯ หลู่ย์ เจี้ยน ได้ส่งจดหมายมาอวยพร ประธานมูลนิธิร่มฉัตร สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ แผนกการศึกษาของสถานทูตจีนประจำประเทศไทย คุณซ่ง ลั่วหวิน ผู้แทนสำนักงานใหญ่ของสถาบันขงจื๊อประจำประเทศไทย นายหวัง ฮุ่ยชาง และแขกผู้มีเกียรติจากวิทยาลัยจีน ไทย และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลของการแข่งขันครั้งนี้ ประธานบริษัทถังฟง คุณ Li Jinsong ก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมและกล่าวรายงานถึงผลสำเร็จในด้านความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย - จีน ภายใต้การชี้นำจากสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนีใน 1 ปีที่ผ่านมา




ประธาน คุณ Li Jinsong ได้กล่าวไว้ว่า ใน 1 ปีมานี้ ถังฟงได้สร้างรูปแบบ CCTE ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย-จีนแบบบูรณาการ “ภาษาจีน + วัฒนธรรมทางธุรกิจ + ทักษะ + การมีงานทำ” จนถึงตอนนี้ มีวิทยาลัยนานาชาติจีน - ไทย “อินเทอร์เน็ต +” กว่า 26 แห่งในประเทศจีนและประเทศไทย มีนักเรียนไทยเกือบ 300 คนจากวิทยาลัยนานาชาติจีน - ไทยกว่า 17 แห่ง เดินทางไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ร่วมมือในประเทศจีนภายใต้โครงการทวิวุฒิในปี พ.ศ. 2562 โดยจะเรียนในสาขาที่ทันสมัย เช่น ด้านรถไฟความเร็วสูง อากาศยานไร้คนขับ E-Commerce การท่องเที่ยว หุ่นยนต์อุตสาหกรรม การเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นสาขาใหม่ของการพัฒนาเขตพิเศษ EEC และนโยบาย Thailand 4.0 ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัย ครูหรือนักเรียน จะได้รับการพัฒนาและยกระดับในหลายๆด้านจากรูปแบบนี้




รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณได้กล่าวไว้ว่า การแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ “ภาษาจีน+ทักษะวิชาชีพ” ได้กระตุ้นการพัฒนาด้านการศึกษาของวัยรุ่นคนไทย เสริมสร้างความรู้รอบด้านของนักเรียน บ่มเพาะนักเรียนให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น ซึ่งท่านรัฐมนตรีก็รู้สึกประทับใจในด้านความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย - จีน “อินเทอร์เน็ต +” ของคุณ Li Jinsong ให้ความเชื่อมั่นอย่างมากกับรูปแบบ CCTE ของถังฟง และให้กำลังใจถังฟงในการกระตุ้นการพัฒนาความร่วมมืออาชีวศึกษาไทย-จีนในหลายระดับและหลายสาขา




ในครั้งนี้ ถังฟงได้เชิญผู้บริหารจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีฝูโจว และประธานกรรมการจากบริษัท Beijing TT Aviation Technology มาเข้าร่วมด้วย ได้ทำการเปิดป้ายความร่วมมือในการสร้างวิทยาลัยนานาชาติไทย - จีน “อินเทอร์เน็ต +” ในการพัฒนาสาขาอากาศยานไร้คนขับกับสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครและบริษัทถังฟง และได้ทำพิธีบริจาคอากาศยานไร้คนขับ ถังฟงก็จะสร้างเวทีร่วมสร้าง ร่วมแบ่งปัน ร่วมชนะของความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางด้านการศึกษาไทย - จีนโดยวิธีทางอินเทอร์เน็ตโดยมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่มากยิ่งขึ้น ภายใต้นโยบาย “One Belt One Road” เป็นส่วนช่วยในด้านความร่วมมือและแลกเปลี่ยนมิตรภาพไทย - จีน