การประชุมวิชาการการศึกษานานาชาติประยุกต์ “ อินเตอร์เน็ต + ” ครั้งที่ 3 จัดขึ้นสำเร็จลุล่วงด้วยดี
Tang : 2020-12-04

การประชุมภายใต้ความร่วมมือระหว่าง คณะการสอนภาษาจีนเพื่อชาวต่างชาติ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กับ บริษัทถัง อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด เกี่ยวกับหัวข้อ การประชุมวิชาการการศึกษานานาชาติ “ อินเตอร์เน็ต + ” ประยุกต์ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2563 นั้น ได้ประสบผลสำเร็จผ่านไปได้ด้วยดี สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีแขกผู้มีเกียรติจำนวนกว่า 160 ท่าน จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศจำนวน 79 แห่งเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ โดยมีแขกผู้มีเกียรติจำนวนมากกว่า 2,000 คน รับชมการถ่ายทอดสดผ่าน “ระบบแพลตฟอร์มอัจฉริยะถังฟง”ในการประชุมนี้ด้วย หัวข้อหลักในการประชุมครั้งนี้คือ “ การขับเคลื่อนการศึกษานานาชาติรูปแบบการสอนระบบออนไลน์” โดยอาศัยช่องทาง “อินเตอร์เน็ต + ” เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษานานาชาติ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมเชิงบูรณาการด้านการผลิตเกี่ยวกับการศึกษาและการวิจัยในเชิงลึก



ในพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้ ท่านศาสตราจารย์ Zhao yang คณบดีคณะการสอนภาษาจีนเพื่อชาวต่างชาติ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และท่าน Li Jinsong ประธานบริษัทถัง อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด ได้ร่วมกันกล่าวคำสุนทรพจน์โดยตามลำดับ ท่าน ศาสตราจารย์ Zhao yang ได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนการสอนระบบออนไลน์. ท่านได้ยอมรับถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีการสอนภาษาจีนและอินเตอร์เน็ตจากบริษัทถังฟง ซึ่งบริการให้แก่องค์กรต่างๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ท่าน Li Jinsong ประธานบริษัทถัง อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด ได้กล่าวแนะนำถึงประวัติความเป็นมาและผลการประชุมในครั้งก่อน โดยมุ่งหวังที่จะแลกเปลี่ยนผลงาน ประสบการณ์ ในด้านวิชาการ เทคนิค การตลาด ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อจะได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาการศึกษานานาชาติของประเทศจีนต่อไป



ในที่ประชุม ท่านศาสตราจารย์ Zhao Yang ได้กล่าวรายงานในหัวข้อ “โอกาสและความท้าทายเกี่ยวกับการสอนออนไลน์ในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ” ท่านได้แสดงความเห็นถึงการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (MOOC)ไปตามสภาพการณ์ ความแตกต่างของฟังก์ชั่นในพื้นที่จริงกับพื้นที่เสมือน ท่านคาดการณ์ว่าพื้นที่เสมือนจะกลายเป็นสนามหลักที่สำคัญ ท่านศาสตราจารย์ Chen Zhihua รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหลานโจว ได้กล่าวรายงานในหัวข้อ “ความท้าทายและทิศทางการศึกษาของนักศึกษาต่างชาติในประเทศจีนยุคหลังการแพร่ระบาด” ท่านได้เสนอถึงความท้าทายและผลกระทบซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสต่อการศึกษาของนักศึกษาต่างชาติในประเทศจีน และยังได้เสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับ “การศึกษาในประเทศจีน” ในยุคหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ท่าน Li Jinsong ประธานบริษัทถัง อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด กล่าวรายงานในหัวข้อ “โอกาสและแนวทางปฏิบัติ การพัฒนาการศึกษานานาชาติให้ทันสมัยในยุคสมัยใหม่” ซึ่งขับเคลื่อนด้วยการส่งเสริมนโยบายและการตลาด การวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวมของการศึกษานาชาติในปัจจุบัน ผ่านรูปแบบ “ภาษาจีน + วัฒนธรรมธุรกิจ + ทักษะ + การจ้างงาน ” (CCTE) ในการสร้างโรงเรียนสาขาย่อยในต่างประเทศในยุคปัจจุบัน และเน้นถึงความสำคัญของการใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเรียนการสอนในอนาคตด้วย ดร. Du Yiqun ฝ่ายโครงการมหาวิทยาลัยเจียวทงจีน-แอฟริกา มหาวิทยาลัยฉางอัน ได้กล่าวรายงานหัวข้อ “การสำรวจเชิงปฎิบัติของการดำเนินการโรงเรียนในต่างประเทศ” โดยท่านได้แบ่งปันประสบการณ์จากการให้บริการในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางวิศวกรรมระหว่างจีน-ไนจีเรีย และยังได้แนะนำถึงบทบาทการนำไปใช้งานของแพลตฟอร์มการเรียนการสอนระหว่างประเทศระบบคลาวด์ของถังฟงในโครงการนี้ด้วย ศาสตราจารย์ Wu Yinghui กล่าวรายงานในหัวข้อ “ความท้าทายและโอกาสของความต้องการเรียนรู้ภาษาจีนจากทั่วโลกต่อการศึกษาภาษาจีนโดยอินเตอร์เน็ต” ได้อธิบายถึงเหตุและผลที่สำคัญเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนภาษาจีนซึ่งยังคงเติบโตไปอย่างรวดเร็ว ย่อมแสดงให้เห็นว่าภาษาจีนจะเป็นภาษาที่สำคัญระดับโลก และท่านยังให้แนวคิดกลยุทธ์เกี่ยวกับการพัฒนาและการเติบโตของอุตสาหกรรมการศึกษานานาชาติโดยอินเตอร์เน็ต ท่าน Xu Jun รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท Huawei Technology Co., Ltd กล่าวรายงานในหัวข้อ “ประสบการณ์การเรียนการสอนออนไลน์รูปแบบใหม่ Huawei Cloud” ท่านได้แนะนำถึงการเปิดตัวของ Huawei Cloud ที่ได้สร้างระบบการศึกษาขึ้นมาใหม่โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ท่านนำเสนอแผนการหลายสภานการณ์ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการศึกษา การปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมความเป็นธรรมทางการศึกษา




ในช่วงบ่ายของวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 ผู้เข้าร่วมประชุมได้แยกกลุ่มรายงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามหัวข้อทั้งหมด 4 หัวข้อดังต่อไปนี้ “กลไกการประยุกต์ใช้และสร้างทรัพยากรภาษาจีนนานาชาติ” “การพัฒนาและการศึกษาครูท้องถิ่น” “การแลกเปลี่ยนประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษานานาชาติและปัญญาประดิษฐ์” “นวัตกรรมรูปแบบความร่วมมือการศึกษานานาชาติในต่างประเทศยุคสมัยใหม่” คณะกรรมการจัดงานประชุมในครั้งนี้ ได้รับบทความวิชาการมากกว่า 200 เรื่องจากผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ และผู้เรียนระดับปริญญาโท-เอกภายในประเทศ จากนั้นได้คัดเลือกผลงานบทคัดย่อยอดเยี่ยมทั้งหมด 40 เรื่อง เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมการประชุมย่อยในครั้งนี้


อาจารย์ He Min คณะการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเซี่ยงไฮ้ และ นักศึกษาระดับปริญญาโท Liu Jinxuan คณะวรรณกรรม มหาวิทยาลัยครุศาสตร์แห่งเมืองหลวง ซึ่งทั้งสองท่านได้ร่วมกันสำรวจเชิงลึกและวิจัยเกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มการเรียนการสอนระหว่างประเทศโดยระบบคลาวด์ของถังฟง วิเคราะห์ข้อดีและข้อด้อยในการใช้แพลตฟอร์มคลาวด์จากมุมมองของผู้ใช้ อีกทั้งยังให้ข้อเสนอแนะที่สมเหตุสมผล เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มคลาวด์ในระยะยาว ในการสำรวจเชิงลึกอาจารย์ He Min ได้อ้างอิงชุดแบบฝึกหัดและฟังก์ชั่นการประเมินออนไลน์ที่ในแพลตฟอร์มจัดเตรียมไว้ให้ มาออกแบบหลักสูตรการสอนใหม่ และนำไปใช้ปฏิบัติจริงโดยเน้นถึงการใช้แพลตฟอร์มในการช่วยให้อาจารย์ผู้สอนมีความสะดวกในการสอนมากขึ้น และนักศึกษา Liu Jinxuan ได้วิเคราะห์แพลตฟอร์ม โดยได้พิจารณาจากเนื้อหา ฟังก์ชั่น และการประยุกต์ใช้การสอนทั้งสามด้าน และวางแผนที่จะนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้ในบทวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จจบการศึกษาอีกด้วย อาจารย์เฉินเหลียง วิทยาลัยสารพัดช่างฉือเจียจวง ได้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์โครงสร้างรูปแบบการสร้างโรงเรียนสาขาในต่างประเทศที่ทันสมัยในรูปแบบ CCTE ของถังฟง โดยวิเคราะห์เชิงโครงสร้างขององค์ประกอบทั้ง 5 รูปแบบ CCTE ภายใต้การศึกษานานาชาติ “ อินเตอร์เน็ต + ” เพื่อพิสูจน์และยืนยันว่ารูปแบบ CCTE มีหลักเกณฑ์ อีกทั้งยังได้เสนอข้อแนะนำที่สมเหตุสมผลในมุมมองการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย



ในช่วงเช้าของวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ท่านศาสตราจารย์ Lu Qincheng รองคณบดีคณะการแลกเปลี่ยนนานาชาติ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเซี่ยงไฮ้ ท่านศาสตราจารย์ Pei Yulai รองคณบดีคณะการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ ท่านศาสตราจารย์ Zhu Changsheng คณบดีคณะการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหลานโจว และท่าน รองศาสตราจารย์ Gao Shujun รองคณบดีคณะการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยซีเป่ย์ ได้ร่วมกันรายงานและอภิปรายให้ข้อสรุปและความคิดเห็นในการประชุมเมื่อวานนี้ โดยศาสตราจารย์ Zhu Changsheng ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การประยุกต์ใช้การศึกษานานาชาติ “อินเตอร์เน็ต+” ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมโดยต้องระดมกำลังความคิด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษาออนไลน์ซึ่งต้องคำนึงถึงความหลากหลายของรายบุคคล ระดับภาษาของแต่ละประเทศ




ท่าน Zhang Jianjun ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีโพลีถังซาน กล่าวรายงานในหัวข้อ “การสำรวจและแนวคิดการจัดเรียนการสอนอาชีวศึกษาสากลภายใต้พื้นฐาน อินเตอร์เน็ต +” ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของบุคลากรในพื้นที่ซึ่งอาศัยรูปแบบการเรียนการสอน CCTE ของถังฟง และให้ตระหนักถึงความร่วมมือระหว่างโรงเรียน รัฐบาล และสถานประกอบการ เพื่อสร้างให้เป็นมาตรฐานของประเทศจีนและสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษาประเทศจีนให้ดียิ่งขึ้น ให้สามารถก้าวสู่อาชีวศึกษาในระดับสากลต่อไป


ท่านศาสตราจารย์ Zhang Yanqun สถาบันการวิจัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง กล่าวรายงานในหัวข้อ “การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ภาษาจีนทางอินเตอร์เน็ต” โดยได้ยกตัวอย่างการสอนและการวิจัยขึ้นเป็นตัวอย่าง อภิปรายบทบาทการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ การเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อพิจารณาถึงปัญหาการบริการและความเป็นมืออาชีพของครูผู้สอนภาษาจีน


ท่านศาสตราจารย์ Wu Heping คณบดีคณะการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ซีเป่ย์ ได้กล่าวแนะนำถึงการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรวิชาตัวอักษรจีนออนไลน์ โดยใช้วิธีการการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวอักษรจีน


ในตอนท้ายของการประชุม ท่านศาสตราจารย์ Zhao Yang และท่านประธาน Li Jingsong ได้ร่วมสรุปผลการประชุมและกล่าวแสดงความขอบคุณแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ท่านกล่าวว่าในปี 2563 เป็นปีที่การศึกษาของประเทศจีนได้เปิดสู่โลกภายนอกและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นปีเริ่มต้นการศึกษาจากรูปแบบสารสนเทศไปในทิศทางรูปแบบอัจฉริยะ และเป็นปีที่การศึกษานานาชาติของประเทศจีนจะบูรณาการเข้ากับทั่วโลกอีกด้วย


แขกผู้มีเกียรติและบริษัทถัง อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี จำกัดที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ได้ร่วมกันเสนอแนะต่อผู้ที่ปฏิบัติงานในด้านการศึกษานานาชาติ ดังนี้


1. ให้ยึดเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้นำด้านการศึกษานานาชาติในอนาคต พวกเราขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการศึกษานานาชาติมีทัศนคติและแนวคิดที่กว้างไกล ช่วยกันส่งเสริมนวัตกรรมการศึกษาระบบดิจิทัล เครือข่าย และอัจฉริยะ เพื่อเข้าใจและเป็นผู้นำด้านการศึกษาระดับนานาชาติในอนาคต


2. ร่วมกันแบ่งปันและสร้างทรัพยากรการศึกษาในระบบดิจิทัล เพื่อต่อยอดในการพัฒนาความก้าวหน้าของการศึกษานานาชาติในอนาคต พวกเราขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการศึกษานานาชาติ ให้บริการและจัดการหลักสูตรดิจิทัลแบบหลากหลายสาขาวิชา เพื่อการพัฒนาและขยายตลาดในต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ขอให้ร่วมกันเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ที่ง่ายสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสร้างอนาคตให้การศึกษานานาชาติร่วมกัน


3. ช่วยกันบูรณาการด้านการผลิต การสอน การวิจัยเข้าด้วยกัน เพื่อเผยแพร่ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนสู่ระดับสากล ส่งเสริมและยกระดับความเป็นสากลและทันสมัยด้านการศึกษานานาชาติของประเทศจีน เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตอันดี พวกเราขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการศึกษานานาชาติที่มาจากหลากหลายภูมิภาคในระดับต่างๆ จงมุ่งมั่นในการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสมัยใหม่และรูปแบบระบบการศึกษานานาชาติแบบใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุม และเป็นสากล



การประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการบูรณาการสหสาขาวิชาชีพ การผลิตการศึกษา และการตลาดทั้งในประเทศ-นอกประเทศ มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละช่วงสมัย ร่วมกันเป็นกำลังในการสร้างและร่วมกันทำภารกิจที่ตั้งไว้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี